แคลเซียม (Calcium) เป็นชื่อแร่ธาตุสำคัญที่เราคุ้นเคยกันมาตั้งแต่เด็กๆ เช่น อยากกระดูกและฟันแข็งแรงต้องกินอาหารที่มีแคลเซียม ถ้าอยากตัวสูงก็ต้องกินแคลเซียมมากๆ โดยเฉพาะนม ปลาเล็กปลาน้อย อย่างไรก็ดี แคลเซียมยังมีประโยชน์มากกว่านั้นและมีหน้าที่สำคัญในร่างกายมากมายอย่างที่เราคาดไม่ถึง
หน้าที่ของแคลเซียมในร่างกาย
- ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนและกระดูกเสื่อม
- เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในกระบวนการแข็งตัวของเลือด (Blood clotting)
- ควบคุมความเป็นกรดด่างภายในเลือด
- ช่วยในการทำงานของระบบประสาท
- ช่วยควบคุมการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงการควบคุมกล้ามเนื้อหัวใจด้วย
- ช่วยให้ระบบน้ำย่อยทำงานเป็นปกติ
- ป้องกันอาการผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือน
แคลเซียมนั้นเป็นสารอาหารที่ช่วยในเรื่องของความสูงได้จริง โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังอยู่ในช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโต อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความสูงให้ร่างกายอีกหลายปัจจัย ได้แก่
- พันธุกรรม หากพ่อแม่สูง ลูกก็มีโอกาสที่จะสูง ในทางกลับกันหากพ่อแม่เตี้ย ลูกก็มีโอกาสที่จะเตี้ยได้ อย่างไรก็ดีหากลูกได้รับปัจจัยอื่นนอกเหนือจากปัจจัยทางพันธุกรรม ก็มีโอกาสสูงได้เช่นเดียวกัน
- อาหารการกิน การได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้คน 1 คนสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะสารอาหารในกลุ่มของโปรตีนและแคลเซียม รวมถึงอาหารในกลุ่มอื่น ๆ เช่นอาหารที่ให้พลังงาน วิตามินและเกลือแร่
- การออกกำลังกาย ช่วยให้กระดูกมีการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ โดยช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้กระดูกเจริญเติบโต มีการขยายตัวในแนวยาว ทำให้ตัวสูงขึ้น
- ความเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการขาดสารอาหาร ซึ่งถือเป็นความเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ทำให้เด็กเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ทั้งในด้านน้ำหนักและส่วนสูง นอกจากนี้โรคทางพันธุกรรมบางอย่าง, โรคของกระดูก, หรือโรคของต่อมไร้ท่อ ก็มีผลต่อความสูงได้เช่นเดียวกัน
การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้ส่งผลต่อความสูงทั้งหมด หากขาดปัจจัยเกื้อหนุนอื่น ๆ ร่วมด้วย ทั้งอายุเองก็มีผลเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้วความสูงของคนจะเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ได้แก่ 11 – 17 ปีในผู้หญิง และ 13 – 20 ปีในผู้ชาย หากอายุเกินจากช่วงนี้ไปแล้วโอกาสสูงก็จะลดลง และไม่อาจสูงขึ้นได้มากกว่านี้อีก
ช่วงวัยเจริญพันธุ์จึงเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่มีผลต่อความสูงที่ควรให้ความใส่ใจ นอกจากออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินและเกลือแร่ ควรเสริมด้วย CBP (Concentrated Bioactive Protein) โปรตีนโมเลกุลต่ำที่สกัดจากนมวัว ช่วยให้ร่างกายสามารถดูซึมแคลเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : https://hdmall.co.th/c/calcium-strengthens-bone-teeth
ที่มา : Interpharma Thailand และ หมอชาวบ้าน