Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

วิตามินบี คือออะไร มีประโยชน์อย่างไร

วิตามินบี เป็นวิตามินที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องของสุขภาพ เพราะวิตามินบีมีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกาย บำรุงระบบประสาทและสมอง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ซึ่งวิตามินบีนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ยิ่งรับประทานร่วมกันก็ยิ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการบำรุงร่างกายได้ดียิ่งขึ้น วันนี้เราขอชวนมารู้จักกับประโยชน์ของวิตามินบีแต่ละชนิด มาดูกันว่าวิตามินบีรวมช่วยอะไรในด้านสุขภาพได้บ้าง พร้อมแนะนำเคล็ดลับดูแลร่างกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่วมไปกับการทานวิตามินบีรวม

วิตามินบี มีกี่ชนิด แต่ละชนิดมีประโยชน์อย่างไร

วิตามินบีที่ร่างกายควรได้รับ มีทั้งหมด 8 ชนิด แต่ละชนิดมีประโยชน์ดังนี้

  1. วิตามินบี 1หรือ thiamine ช่วยในการผลิตพลังงาน เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลร่วมกับวิตามินบี1 จะเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ร่างกายนำไปใช้ วิตามินบี1 ช่วยเร่งให้กระบวนการนี้เร็วขึ้น และทำงานร่วมกับเอนไซม์อื่นๆ รวมทั้งลดผลกระทบของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้หากร่างกายมีระดับวิตามินบี1 ต่ำ เมื่อให้ร่วมกับวิตามินซี สามารถลดผลกระทบจากภาวะติดเชื้อ และยังสามารถลดความเสี่ยงของภาวะไตวายที่มักเกิดจากการติดเชื้อได้
  2. วิตามินบี2 หรือ riboflavin ช่วยในระบบการเผาผลาญพลังงาน ให้พลังงานกับร่างกาย ทำให้ร่างกายและจิตใจทำงานได้อย่างเป็นปกติ และช่วยให้กระดูก ผิวหนัง ผม และเล็บมีสุขภาพดี
  3. วิตามินบี3 หรือ niacin ลดระดับไขมันในเลือด โดย ลดคอเลสเตอรอล LDL (ไม่ดี) และเพิ่มคอเลสเตอรอล HDL (ดี) ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจลดลง (ถึงแม้ว่าการศึกษาจะพบว่ายังไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างการเสริมวิตามินบี3 กับการลดความเสี่ยงโรคหัวใจหรือการเสียชีวิต)
  4. วิตามินบี5 หรือ pantothenic acid ส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด มีส่วนช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้เป็นปกติ และการศึกษาจำนวนมากได้แสดงให้เห็นว่าวิตามินบี 5 อาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่ “ไม่ดี” ของผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอล HDL ที่ “ดี”
  5. วิตามินบี6 หรือ pyridoxine ช่วยปรับอารมณ์และลดอาการซึมเศร้า วิตามินบี 6 มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะวิตามินนี้จำเป็นต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ รวมถึงเซโรโทนิน โดปามีน และกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (GABA) วิตามินบี 6 อาจมีบทบาทในการลดระดับกรดอะมิโนโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูง ซึ่งเชื่อมโยงกับภาวะซึมเศร้าและปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ
  6. วิตามินบี7 หรือ biotin บำรุงผม ไบโอตินเป็นที่รู้จักกันดีว่ามีผลดีต่อเส้นผม การวิจัยแสดงให้เห็นว่าไบโอตินช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยให้ผมเงางาม มีวอลลุ่ม และปกปิดหนังศีรษะในผู้หญิงที่มีผมบาง บำรุงผิวและเล็บ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าไบโอตินช่วยปรับสภาพให้ผิวมีความชุ่มชื้น และมีความเรียบเนียน นอกจากนี้ การศึกษาบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าไบโอตินสามารถช่วยให้เล็บมือและทำให้เล็บยาวเร็วขึ้นได้
  7. วิตามินบี9 หรือ folic acid รักษาภาวะขาดโฟเลต การขาดโฟเลตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุที่อาจทำให้เกิดการขาดโฟเลต อาจเกิดจากการกินอาหารที่มีโฟเลตไม่เพียงพอ กินยาที่ขัดขวางการดูดซึม โรคโลหิตจาง การฟอกไต ฯลฯ การบริโภคโฟเลตน้อยเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคโลหิตจาง ปัญหาพัฒนาการของทารกในครรภ์ ความบกพร่องทางจิตใจ การทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่อง และภาวะซึมเศร้า การเสริมกรดโฟลิกหรือโฟเลตสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้
  8. วิตามินบี12 หรือ cobalamin บำรุงกระดูกและป้องกันโรคกระดูกพรุน กระดูกที่มีความหนาแน่นของแร่ธาตุลดลงจะบอบบางและเปราะบางเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคกระดูกพรุน มีการศึกษาพบว่าระดับวิตามินบี 12 ที่ต่ำนั้นเชื่อมโยงกับความหนาแน่นของกระดูกที่ลดลงในโคนขาและสะโพกในเพศชาย การศึกษาอื่นๆ ยังแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างระดับวิตามินบี12 ต่ำกับสุขภาพกระดูกที่ไม่ดี และความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหัก

ปริมาณวิตามินบีที่ควรได้รับต่อวัน

  • วิตามินบี 1 (ไทอะมีน) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 5 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 7 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 20 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเทนิก) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 6 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 2 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 9 (โฟเลต) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 200 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี 12 (โคบาลามิน) ร่างกายต้องการอย่างน้อยวันละ 2 ไมโครกรัม

วิตามินบีแต่ละชนิดได้จากอะไรบ้าง

  • วิตามินบี 1 พบได้ในผักใบเขียว ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ไข่แดง ปลา และเนื้อไม่ติดมัน
  • วิตามินบี 2 พบได้ในผักใบเขียว ไข่ นม ถั่ว โยเกิร์ต ชีส ปลา และตับไก่
  • วิตามินบี 3 พบได้ในไข่ ปลา เนื้อไม่ติดมัน เนื้อสัตว์ปีก ตับ ธัญพืช และอาโวคาโด
  • วิตามินบี 5 พบได้ในเนื้อสัตว์ ตับ หัวใจ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี และผักใบเขียว
  • วิตามินบี 6 พบได้ในปลา ตับไก่ ถั่ว และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี
  • วิตามินบี 7 พบได้ในตับวัว ไข่แดง นม และข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี
  • วิตามินบี 9 พบได้ในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ผลไม้สีเหลืองและสีส้ม
  • วิตามินบี 12 พบได้ในเนื้อสัตว์ ตับ นม ไข่แดง ชีส และอาหารหมักดอง

(ที่มา : https://mbrace.bnhhospital.com/ , https://www.berocca.co.th/how-it-works/health-benefits-of-vitamin-b-complex )

YAO INNOFOOD PLUS CO.,LTD.
บริษัท วายเอโอ อินโนฟู้ด พลัส จำกัด

444 หมู่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290

Copyright © 2024 YaoCordyceps